เพิ่มทางเลือกให้หลากหลายด้วย Variable Theme
สำหรับสินค้าบางชนิดที่มีหลายขนาดให้เลือก
เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดที่จะนำไปใช้งาน เช่นเสื้อผ้า รองเท้า แหวน ระบบ Add
a Product ได้รองรับการสร้างทางเลือกต่าง ๆ ไว้ให้สำหรับลูกค้า
เพื่อให้ผู้ขาย ได้สร้างทางเลือกต่าง ๆ ไว้ให้ลูกค้าได้เลือกกัน
ระบบนี้ก็คือ Variation Theme
สำหรับ Variation Theme จะอยู่ที่แถบ Vital Info
Variation ของแต่ละหมวดสินค้า จะมีให้เลือกไม่เหมือนกัน
ตามแต่ลักษณะของสินค้านั้น ๆ อย่างในตัวอย่างที่แสดงให้นี้
เป็นของหมวดเสื้อผ้า
โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว เสื้อผ้า คนที่จะเลือก สี กับ ไซส์ (color / size)
ส่วนตัวเลือกอื่น ๆ นั้น ทางระบบได้เตรียมไว้สำหรับ เสื้อผ้าพิเศษ
หรือความเป็นไปได้ทั้งหมด แต่คงไม่ได้ใช้ทั้งหมด
ถ้าเรา จะนำเสนอ สีเดียว แต่มีให้เลือกได้หลายขนาด ตั้งแต่ S, M, L, XL และ XXL ก็เลือก ออปชั้น Size
หรือถ้าเรามีหลายสี แต่เป็นฟรีไซส์ก็เลือก ออปชั่น Size
แต่ตัวอย่างนี้ จะแสดงแบบยากกว่า ก็คือ มีให้เลือก 4 สี 4 ไซส์ ก็คือ Color, Size ( อันล่างสุดในรูป )
เมื่อเลือกแล้ว จะมีแถบใหม่ปรากฎมา ก็คือ Variations และจะมีช่องให้ใส่ข้อมูล ตามที่เราได้เลือกไป
ก็ลองใส่ ขนาดไป 4 ขนาด S, M, L, XL และ สีไป 4 สี คือ Black, Red, White, Blue
เมื่อครบ ก็กดปุ่ม Add Variations ด้านล่าง
เราก็ต้องใส่ ราคา และ ปริมาณสินค้า ตามแต่ละ Variation ที่เรามี
ในที่นี้ ก็จะมีทั้งหมด 16 Variation เพราะว่า มี 4 สี แต่ละสี
ก็จะมีทั้งหมด 4 ขนาด
ช่องที่บังคับใส่ ก็คือ Condition , Your Price และ Quantity ส่วน
ช่อง Seller SKU นั้นไม่บังคับ เพราะถ้าเราไม่ใส่ ระบบของ Amazon
จะสร้างให้อัตโนมัน แต่ถ้าต้องการให้เราเองดูรู้เรื่อง เราก็ควรสร้างเอง
เช่น ถ้าเป็นสีฟ้า ขนาด XL ก็อาจจะใช้ว่า BL-XL ก็คือ Blue ต่อด้วย ไซส์
XL จะดูรู้เรื่องกว่าที่ระบบสร้างให้เยอะ
ส่วนราคา กับปริมาณ
จะตั้งเท่ากันทุกไซส์ ทุกสี หรือไม่เท่ากันเลยสักอันก็ได้ ตามสะดวก ถ้าไซส์
หรือสีไหน ไม่มีของ ก็ตั้งปริมาณให้เป็น 0 - ศูนย์
เมื่อครบแล้ว ก็ใส่ข้อมูลในแถบอื่น แต่ยังไม่ต้องใส่รูป
เพราะเราสามารถใส่รูปในแต่ละ Variation ให้แตกต่างกันได้
ให้ข้ามขั้นตอนในการใส่รูปไปก่อน
เมื่อเสร็จแล้ว หน้าสรุป Inventory ของเราก็จะปรากฎสินค้ารายการนี้
แต่สินค้าที่สร้างขี้นพร้อมกับ Variation นี้จะมีเครื่องหมาย + อยู่ด้านหน้าสุด
เมื่อคลิกที่เครื่องหมาย + ก็จะเป็นการแสดง Variation ทั้งหมดออกมา
โดยที่ ตัวข้อมูลหลัก ๆ ของสินค้า จะเรียกว่า Variation Parent และ ตัว Variation ย่อยทุกอัน จะเรียก Child
Seller
SKU ของ Parent นั้น ระบบ Amazon จะสร้างให้อัตโนมัน (FG-6ZF6-ZSQ7)
แต่ตัวของตัว Child เราสามารถสร้างได้เห็น จะเห็นได้ว่า ของ Child
ถ้าเรากำหนดเอง ดูเองง่ายกว่าเป็นไหน ๆ
และก็สามารถ ใส่รูปให้แต่ละ Child ได้โดยคลิกที่ Actions เมนูก็จะปรากฎ
เลือก Edit details แล้วก็เข้าไปใส่รูปที่ แถบ Images
ดังที่ได้อธิบายไปแล้ว เราสามารถใส่รูปหลักไว้ที่ Parent และรูปแต่ละสี
ไว้ที่ Child แต่ละอัน เมื่อลูกค้าเลือก ไปที่ ออปชั่นต่าง ๆ
รูปก็จะเปลี่ยนไปตามที่เราได้กำหนดไว้
หน้าแสดงสินค้า ก็จะมี ออปชั่นให้เลือก (พอดีตัวอย่าง มันมีแต่ให้เลือกขนาด ไม่มีให้เลือกสีนะครับ)
ความยากของการตั้ง Variation Theme นี่น่าจะอยู่ที่การตัดสินใจเลือก
ว่าจะเอาอะไร เป็น Variation มากกว่า อย่างเช่นเสื้อผ้านี้ ถึงแม้สี
จะสามารถตั้งเป็น Variation ได้ แต่ก็ไม่ใช่เสื้อทุกชนิด เหมาะที่จะเอามาทำ
เพราะตามลักษณะของคนซื้อ จะเลือกสีก่อน จากนั้นค่อยมาดูว่ามีไซส์
ที่ใส่ได้หรือเปล่า ก็คือ ลูกค้าจะใช้สี เป็นคำค้น ถ้าเราเอามาตั้งเป็น
Child แล้วโอกาส ที่จะใช้ สี มาเป็น Keyword ที่จะเอาไปใช้เป็น Product
name ก็หมดไป เพราะ Variation Child ทุกอัน จะชื่อเหมือนกัน Parent หมด
แต่ถ้าเป็นเสื้อทีมแมนยู คนก็จะไม่ค้นหาที่สี
เพราะคงโดนบังคับสีมาตั้งแต่ต้นแล้ว แต่จะเป็น Variation ว่าจะเป็น Home
หรือ Away (เสื้อทีมเหย้า หรือทีมเยือน) และก็ขนาดมากกว่า
การตั้ง Variation ยังไง ก็ลองดูชนิดสินค้า และก็ พฤติกรรมของลูกค้าด้วยนะครับ
แหล่งข้อมูลความรู้สำหร้บผู้ที่ต้องการเข้าสู่ E-Commerce หลักการออกแบบ และจัดทำเว็บไซต์ E-commerce การทำ SEO การขายสินค้าในตลาด E-Marketplace ต่าง ๆ เช่น eBay Amazon และ Etsy
วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556
Amazon Seller - เพิ่มสินค้าเข้าร้าน
ในส่วนของการใส่รายละเอียดสินค้า จะแบ่งการใส่ข้อมูลต่าง ๆ ออกเป็นแถบย่อย ๆ ดังนี้นะครับ
แถบ Vital Info
ตัวอย่างหน้านี้ เป็นสินค้าในหมวด Sporting Goods > Sports Related Merchandise > Sports Fan T Shirts จะมีบังคับอยู่ 3 รายการก็คือ
- Product Name ก็คือ ชื่อสินค้านั่นเอง จะปรากฎเป็นตัวหนาในหน้า รายการผลการค้นหา และใช้เป็นคำ Keyword หลักในการค้นหาด้วย
- Manufacturer ผู้ผลิต หรือเจ้าของ
- UPC or EAN รหัสประจำสินค้า หรือตัวเลขประจำ Bar Code วิธีหา ดูได้จากหน้านี้ครับ https://sellercentral.amazon.c...h?ie=UTF8&itemID=200211450
รายละเอียดช่องอื่น ที่ไม่มี ตัวดอกจันดีแดงอยู่ข้างหน้า แสดงว่าไม่บังคับ ไม่ใส่ก็ได้
แถบ Offer
ข้อมูลในแถบนี้ จะเป็นราคา และปริมาณสินค้าของเราน่ะครับ
Condition - สภาพของสินค้า ส่วนใหญ่ ก็ต้องเป็น New นี่แหละ
Your Price - ก็คือ ราคาที่เราจะขาย
Quantity ก็คือ - ปริมาณ หรือจำนวนที่เรามี หรือเราจะขาย
ส่วนข้อมูลที่ไม่บังคับ แต่ก็ควรใส่เอาไว้ก็คือ
Seller SKU - รหัสสินค้า อันนี้เราสร้างรหัสเอง เอาไว้ให้เราจำหรือแยกสินค้าได้เอง ไม่ต้องใช้ค่ามาตรฐานใด ๆ หรืออาจจะใช้รหัสสินค้าของร้านที่เราไปซื้อมาขายก็ได้ เวลาไปซื้อมาจากร้าน จะได้เลือกได้ถูก
Handling time - ระยะเวลาในการจัดเตรียมสินค้าก่อนส่ง ช่วยให้เรามีเวลาในการเตรียมสินค้า หรือบอกลูกค้าให้รู้ไว้
แถบ Images
กดที่ปุ่ม หน้าต่างใหม่ จะ Pop-up ขึ้นมา
เลือก เพื่อเลือกรูปที่จะ Upload ได้มากที่สุด 9 รูป เมื่อครบที่ต้องการ ก็กดปุ่ม แล้วระบบ จะทำการ Upload รูปหลังที่เราใส่ค่าทั้งหมดแล้วสามารถ ใส่ข้อมูลหน้าถัดไปได้ โดยไม่ต้องปิดหน้าโหลดรูปนี้
เรื่องรูปสินค้า Amazon มักจะมีข้อบังคับให้ใช้รูปสินค้าดังนี้
1. พื้นหลังเป็นสีขาวเท่านั้น
2. รูปสินค้าจะต้องกินพื้นมากกว่า 85% ของเนื้อที่ทั้งหมดของรูป
3. ห้ามนำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในรูปเด็ดขาด
4. ห้ามใส่ลายน้ำ ตัวอักษร หรืออะไรเข้าไปทั้งสิ้น
5. รูปต้องมีขนาดด้านใดด้านหนี่งมากกว่า 500px
อันนี้เป็นข้อกำหนดทั่วไป นะครับ แต่อาจจะมีบางหมวดที่เข้มงวดกว่านั้น
แถบ Description
ข้อมูล หน้านี้ ก็ไม่บังคับ ว่าจะต้องใส่ แต่เป็นหน้าที่สำคัญ เพราะมันดันไปแสดงอยู่ในส่วนที่สำคัญ ต่อการตัดสินใจซื้อ ก็เลยเป็นการบังคับว่า ต้องมี
ส่วนแรก Key Product Feature อันนี้ ที่สำคัญ เพราะมันไปอยู่ตรงตำแหน่งนี้ครับ
ลูกค้า จะเห็นรายละเอียดสำคัญของสินค้าตรงนี้ และช่วยตัดสินใจ ว่าสินค้านี้สมควรที่จะซื้อหรือไม่
ข้อกำหนดในการใส่ Key Product Feature
1.ใส่ได้ทั้งหมด 5 ข้อ แต่เขาข้อมูลที่สำคัญที่สุดไว้อันแรก
2. แต่ละข้อใส่ได้ไม่เกิน 200 ตัวอักษร แต่ก็ไม่ควรเกิน 80 จะดีกว่า
3. ห้ามใส่เบอร์โทรศัพท์ โปรโมชั่นต่าง ๆ อีเมลล์ หรือเวปไซต์ภายนอก
ส่วน Description นั้นจะอยู่ด้านล่างลงไปหน่อย ต้องเลื่อนหน้าจอลงไปจึงจะเห็น อยู่ในหัวข้อ
Product Description สามารถใส่ได้ไม่เกิน 2000 ตัวอักษร ไม่สามารถกำหนดรูปแบบ สี การแสดงผลใด ๆ ได้เลย จะเป็นตัวอักษรติดกันไปตลอด
ของตัวอย่างนี่ ก็เลยใส่ สั้น ๆ ง่าย ๆ ไปเลย
แถบ Keyword
แถบนี้จะเป็นการกำหนด Keyword ที่ใช้กับระบบ Search ของ Amazon เพิ่มเติมจาก ตัว Keyword ที่ใช้ใน Product Name
สามารถใช้ Keyword มาใส่ลงใน ช่อง Search Terms ได้ทั้งหมด 5 ประโยค
ข้อ แนะนำของ Amazon ในการใส่ Keyword ก็คือใช้ คำที่ไม่ซ้ำกับ Product Name เพราะคำเหล่านี้ จะถูกใช้อยู่แล้ว ให้ใช้คำอื่น ๆ ที่คิดว่า ลูกค้าจะใช้
ส่วน Platinum Keyword นั่นสำหรับผู้ขายระดับ Platinum เท่านั้น
แถบ More Detail
แถบ นี้ สำหรับเป็นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า แต่ละหมวด ก็จะแตกต่างกันมาก เช่น หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็จะกล่าวถึงรายละเอียดทางเทคนิคต่าง ๆ แบตเตอรี่ที่ใช้รุ่นอะไร เสื้อผ้าก็เป็น ขนาดตามส่วนต่าง ๆ เช่น เอว คอ หรือว่าไซส์ต่างๆ มีขนาดเท่าไหร่บ้าง ไม่ขอพูดถึงครับ เพราะข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสินค้าส่วนใหญ่ ก็ใส่อยู่ในแถบอื่น เว้นแต่ว่าขยันก็ใส่กันได้เต็มที่เลยครับ
พอใส่ข้อมูลครบ ก็กด Save and Finish ด้านล่าง ก็อันเสร็จสิ้น
เนื่องจากทาง Amazon เป็นตลาดเสรี และเน้นด้านการแข่งขันของผู้ขายอยู่แล้วด้วย หากเรามีสินค้า ที่มีผู้ขาย ได้ขายสินค้านั้นอยู่แล้ว เราสามารถใส่รหัสสินค้านั้น หรือชื่อสินค้า ลงไปได้ ตั้งแต่หน้าแรกในช่อง Find it on Amazon ได้ทันที
เช่น ถ้าเราใส่ Nike Shoe ลงไป แล้วก็กดปุ่ม Search
รายการสินค้าที่มีขายอยู่ ก็จะแสดงออกมา หากสินค้าไหนที่ไม่อยู่ในหมวดที่ต้อง ได้รับการอนุมัติก่อน ก็จะมีปุ่ม อยู่ด้านหลัง ก็สามารถ กดที่ปุ่มนี้ได้เลย แต่ถ้ายังไม่ได้รับการอนุมัติ ก็จะแสดงไว้ว่า Sorry, the ability to create a listing for this item is restricted
เมื่อเจอสินค้าที่เหมือนกับของที่เราจะขาย ก็กดปุ่ม Sell yours ได้ทันที แต่มีข้อแม้ว่า ต้องเหมือนเปี๋ยบเท่านั้น จะเป็นการลัดเข้าสู่หน้า Offer ทันที โดยที่หน้าอื่น เราไม่สามารถใส่รายละเอียดใด ๆ ได้เลย เพราะว่า เราจะขายสินค้าเดียวกัน
หน้าอื่นก็ไม่สามารถใส่ข้อมูลได้
นั่นก็คือ เราจะตัดราคากับเขา ว่างั้นเหอะ เพราะว่า เวลาลูกค้าหาสินค้าเจอ ระบบของ Amazon จะแสดงให้เห็นว่า มีผู้ขายกี่คนที่ขายอยู่ และจะเปรียบเทียบราคาให้เห็นกันจะจะแบบนี้
นั่นคือ ถ้ามั่นใจว่าขายถูกกว่า แล้วจะได้กำไร ใช้วิธีนี้ได้เลย
และผมก็คิดว่านี่แหละหนึ่งในเหตุผลที่ไม่ยอมให้ใส่ลายน้ำเจ้าของ เข้าไปในรูป
แถบ Vital Info
ตัวอย่างหน้านี้ เป็นสินค้าในหมวด Sporting Goods > Sports Related Merchandise > Sports Fan T Shirts จะมีบังคับอยู่ 3 รายการก็คือ
- Product Name ก็คือ ชื่อสินค้านั่นเอง จะปรากฎเป็นตัวหนาในหน้า รายการผลการค้นหา และใช้เป็นคำ Keyword หลักในการค้นหาด้วย
- Manufacturer ผู้ผลิต หรือเจ้าของ
- UPC or EAN รหัสประจำสินค้า หรือตัวเลขประจำ Bar Code วิธีหา ดูได้จากหน้านี้ครับ https://sellercentral.amazon.c...h?ie=UTF8&itemID=200211450
รายละเอียดช่องอื่น ที่ไม่มี ตัวดอกจันดีแดงอยู่ข้างหน้า แสดงว่าไม่บังคับ ไม่ใส่ก็ได้
แถบ Offer
ข้อมูลในแถบนี้ จะเป็นราคา และปริมาณสินค้าของเราน่ะครับ
Condition - สภาพของสินค้า ส่วนใหญ่ ก็ต้องเป็น New นี่แหละ
Your Price - ก็คือ ราคาที่เราจะขาย
Quantity ก็คือ - ปริมาณ หรือจำนวนที่เรามี หรือเราจะขาย
ส่วนข้อมูลที่ไม่บังคับ แต่ก็ควรใส่เอาไว้ก็คือ
Seller SKU - รหัสสินค้า อันนี้เราสร้างรหัสเอง เอาไว้ให้เราจำหรือแยกสินค้าได้เอง ไม่ต้องใช้ค่ามาตรฐานใด ๆ หรืออาจจะใช้รหัสสินค้าของร้านที่เราไปซื้อมาขายก็ได้ เวลาไปซื้อมาจากร้าน จะได้เลือกได้ถูก
Handling time - ระยะเวลาในการจัดเตรียมสินค้าก่อนส่ง ช่วยให้เรามีเวลาในการเตรียมสินค้า หรือบอกลูกค้าให้รู้ไว้
แถบ Images
กดที่ปุ่ม หน้าต่างใหม่ จะ Pop-up ขึ้นมา
เลือก เพื่อเลือกรูปที่จะ Upload ได้มากที่สุด 9 รูป เมื่อครบที่ต้องการ ก็กดปุ่ม แล้วระบบ จะทำการ Upload รูปหลังที่เราใส่ค่าทั้งหมดแล้วสามารถ ใส่ข้อมูลหน้าถัดไปได้ โดยไม่ต้องปิดหน้าโหลดรูปนี้
เรื่องรูปสินค้า Amazon มักจะมีข้อบังคับให้ใช้รูปสินค้าดังนี้
1. พื้นหลังเป็นสีขาวเท่านั้น
2. รูปสินค้าจะต้องกินพื้นมากกว่า 85% ของเนื้อที่ทั้งหมดของรูป
3. ห้ามนำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในรูปเด็ดขาด
4. ห้ามใส่ลายน้ำ ตัวอักษร หรืออะไรเข้าไปทั้งสิ้น
5. รูปต้องมีขนาดด้านใดด้านหนี่งมากกว่า 500px
อันนี้เป็นข้อกำหนดทั่วไป นะครับ แต่อาจจะมีบางหมวดที่เข้มงวดกว่านั้น
แถบ Description
ข้อมูล หน้านี้ ก็ไม่บังคับ ว่าจะต้องใส่ แต่เป็นหน้าที่สำคัญ เพราะมันดันไปแสดงอยู่ในส่วนที่สำคัญ ต่อการตัดสินใจซื้อ ก็เลยเป็นการบังคับว่า ต้องมี
ส่วนแรก Key Product Feature อันนี้ ที่สำคัญ เพราะมันไปอยู่ตรงตำแหน่งนี้ครับ
ลูกค้า จะเห็นรายละเอียดสำคัญของสินค้าตรงนี้ และช่วยตัดสินใจ ว่าสินค้านี้สมควรที่จะซื้อหรือไม่
ข้อกำหนดในการใส่ Key Product Feature
1.ใส่ได้ทั้งหมด 5 ข้อ แต่เขาข้อมูลที่สำคัญที่สุดไว้อันแรก
2. แต่ละข้อใส่ได้ไม่เกิน 200 ตัวอักษร แต่ก็ไม่ควรเกิน 80 จะดีกว่า
3. ห้ามใส่เบอร์โทรศัพท์ โปรโมชั่นต่าง ๆ อีเมลล์ หรือเวปไซต์ภายนอก
ส่วน Description นั้นจะอยู่ด้านล่างลงไปหน่อย ต้องเลื่อนหน้าจอลงไปจึงจะเห็น อยู่ในหัวข้อ
Product Description สามารถใส่ได้ไม่เกิน 2000 ตัวอักษร ไม่สามารถกำหนดรูปแบบ สี การแสดงผลใด ๆ ได้เลย จะเป็นตัวอักษรติดกันไปตลอด
ของตัวอย่างนี่ ก็เลยใส่ สั้น ๆ ง่าย ๆ ไปเลย
แถบ Keyword
แถบนี้จะเป็นการกำหนด Keyword ที่ใช้กับระบบ Search ของ Amazon เพิ่มเติมจาก ตัว Keyword ที่ใช้ใน Product Name
สามารถใช้ Keyword มาใส่ลงใน ช่อง Search Terms ได้ทั้งหมด 5 ประโยค
ข้อ แนะนำของ Amazon ในการใส่ Keyword ก็คือใช้ คำที่ไม่ซ้ำกับ Product Name เพราะคำเหล่านี้ จะถูกใช้อยู่แล้ว ให้ใช้คำอื่น ๆ ที่คิดว่า ลูกค้าจะใช้
ส่วน Platinum Keyword นั่นสำหรับผู้ขายระดับ Platinum เท่านั้น
แถบ More Detail
แถบ นี้ สำหรับเป็นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า แต่ละหมวด ก็จะแตกต่างกันมาก เช่น หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็จะกล่าวถึงรายละเอียดทางเทคนิคต่าง ๆ แบตเตอรี่ที่ใช้รุ่นอะไร เสื้อผ้าก็เป็น ขนาดตามส่วนต่าง ๆ เช่น เอว คอ หรือว่าไซส์ต่างๆ มีขนาดเท่าไหร่บ้าง ไม่ขอพูดถึงครับ เพราะข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสินค้าส่วนใหญ่ ก็ใส่อยู่ในแถบอื่น เว้นแต่ว่าขยันก็ใส่กันได้เต็มที่เลยครับ
พอใส่ข้อมูลครบ ก็กด Save and Finish ด้านล่าง ก็อันเสร็จสิ้น
เนื่องจากทาง Amazon เป็นตลาดเสรี และเน้นด้านการแข่งขันของผู้ขายอยู่แล้วด้วย หากเรามีสินค้า ที่มีผู้ขาย ได้ขายสินค้านั้นอยู่แล้ว เราสามารถใส่รหัสสินค้านั้น หรือชื่อสินค้า ลงไปได้ ตั้งแต่หน้าแรกในช่อง Find it on Amazon ได้ทันที
เช่น ถ้าเราใส่ Nike Shoe ลงไป แล้วก็กดปุ่ม Search
รายการสินค้าที่มีขายอยู่ ก็จะแสดงออกมา หากสินค้าไหนที่ไม่อยู่ในหมวดที่ต้อง ได้รับการอนุมัติก่อน ก็จะมีปุ่ม อยู่ด้านหลัง ก็สามารถ กดที่ปุ่มนี้ได้เลย แต่ถ้ายังไม่ได้รับการอนุมัติ ก็จะแสดงไว้ว่า Sorry, the ability to create a listing for this item is restricted
เมื่อเจอสินค้าที่เหมือนกับของที่เราจะขาย ก็กดปุ่ม Sell yours ได้ทันที แต่มีข้อแม้ว่า ต้องเหมือนเปี๋ยบเท่านั้น จะเป็นการลัดเข้าสู่หน้า Offer ทันที โดยที่หน้าอื่น เราไม่สามารถใส่รายละเอียดใด ๆ ได้เลย เพราะว่า เราจะขายสินค้าเดียวกัน
หน้าอื่นก็ไม่สามารถใส่ข้อมูลได้
นั่นก็คือ เราจะตัดราคากับเขา ว่างั้นเหอะ เพราะว่า เวลาลูกค้าหาสินค้าเจอ ระบบของ Amazon จะแสดงให้เห็นว่า มีผู้ขายกี่คนที่ขายอยู่ และจะเปรียบเทียบราคาให้เห็นกันจะจะแบบนี้
นั่นคือ ถ้ามั่นใจว่าขายถูกกว่า แล้วจะได้กำไร ใช้วิธีนี้ได้เลย
และผมก็คิดว่านี่แหละหนึ่งในเหตุผลที่ไม่ยอมให้ใส่ลายน้ำเจ้าของ เข้าไปในรูป
Amazon Seller - Your Info and Policies
อันสุดท้าย ที่ผมแนะนำให้ตั้งก่อน เปิดร้านเพื่อช่วยให้ลูกค้า มั่นใจยิ่งขึ้นในการซื้อสินค้าจากเรา ก็คือ Your Info and Policies
เมื่อ เข้าไปที่หัวข้อนี้ เราจะสามารถ ให้ข้อมูลกับลูกค้า ในด้านนโยบายต่าง ๆ ของร้าน เช่น เงื่อนไข ในการรับคืนสินค้า เงื่อนไขในการส่ง หรือ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าเราก็ได้
ไล่ทีละอันเลยนะครับ
About Seller - ถ้าจะเทียบ ก็จะเหมือนกับ About us ตามเวปไซต์ขายของทั่วไป เหมือนเป็นการแนะนำตัว เวลาที่เราจะไปขายของ หรือขายประกันให้ใคร เราก็ควรจะบอกลูกค้า ก่อนไม่ใช่ว่า ดุ่ย ๆ ไปขายของให้เขา น้อยคนนัก ที่จะซื้อเลย เว้นแต่ สินค้า กับราคามันยั่วใจเท่านั้น อย่างน้อย ก็มาบอกเขาก่อน ว่าเราเป็นใคร โม้หน่อยก็ได้ ว่าเราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ หรือ เราเป็นผู้ผลิตโดยตรง ลูกค้าจะได้เชื่อมั่น
การ ใส่ ก็สามารถใส่ได้ 2 แบบ คือ Design View พิมพ์ลงไปแล้วปรับการแสดงผลคล้ายกับ การทำด้วย Microsoft Word และ Code View ที่ต้องใส่เป็นภาษา HTML ทำจาก Dream Weaver แล้วเอาโค้ดมาแปะก็ได้ครับ แต่ต้องใช้ CSS Style แบบ inline เท่านั้นนะครับ
Seller Logo - อันนี้ จะให้โอกาสเรา ใส่รูปโลโก้ร้านได้ แต่ได้ขนาดแค่ 120 x 30 px นี่ต้องใช้แว่นขยายดูกันหน่อยล่ะ
กด Browse.. เพื่อเลือกรูป แล้วก็ Upload ขึ้นไปได้เลย
Shipping - ก่อนหน้านี้ ที่เราทำการปรับค่าต่าง ๆ ใน Shipping Settings นั้น เป็นการบอกระบบของ Amazon ว่าจะให้คิดค่าส่งอย่างไร แต่ลูกค้า ไม่รู้เรื่องพวกนี้ด้วย ทาง Amazon ก็ให้โอกาส เรามาอธิบายไว้ตรงนี้
แต่ Shipping จะแบ่งออกเป็น 2 บล๊อค
อัน บนคือ Shipping Policies Help Content: ให้เราอธิบายว่า เราจะส่งสินค้าเรายังไง ส่งภายในกี่วันหลังจากรับเงิน ส่งผ่านบริษัทอะไร อธิบายไว้ในช่องนี้ครับ
อันล่าง Shipping Rates Help Content: ก็อธิบายว่าเราคิดค่าส่งยังไง ราคาเท่าไหร่
ส่วนการใส่นั้น ก็เหมือน กับ About Seller
Privacy - เราจะเก็บข้อมูลส่วนตัวของลูกค้ายังไง ฝรั่งเขาหวงความเป็นส่วนตัว และข้อมูลส่วนบุคคลกันมาก แต่คนไทยส่วนใหญ่ ยังไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก (สารภาพว่า อันนี้ผมก็ Copy ของคนอื่นมาเหมือนกัน)
Gift Services - บริการเสริม ว่าเราจะห่อเป็นของขวัญ แล้วส่งไปให้คนรับได้หรือเปล่า (เหมือนมิส ลิลลี่ รับส่งดอกไม้ นั่นแหละ) ถ้าได้มีเงื่อนไขยังไง ร้านใครขายสินค้า ที่คนมักจะส่งให้เป็นของขวัญกัน ตามช่วงเทศกาล ควรมีบริการนี้จะช่วยเพิ่มยอดขายได้ในช่วงเทศกาลเลยล่ะครับ แต่ถ้าไม่มี เราก็ควรบอกเขาไว้ด้วยว่า เราไม่มีบริการนี้
Tax - เราคิดภาษีการค้าหรือเปล่า ถ้าไม่คิด ก็บอก แต่ของไทย คงไม่คิดกันมั๊งครับ แต่ผมบอกไว้ตรงนี้
ว่า "สำหรับบางประเทศถ้ามีภาษีนำเข้า ผู้ซื้อเป็นผู้รับผิดชอบเอง" ตามนี้ (ก๊อปเอาไปใช้กันได้เลยครับ)
Tax & Duties
Customers in Custom-strict countries please contact us for detail on our policy. If you have instruction on how your package should be labeled accordance to your country's procedure.
Customer responds for tax or duties if there's any.
Frequently Asked Questions - ขาย ๆ ไป ลูกค้าก็มักจะมีคำถาม มาถามเรา เกี่ยวกับเรื่องโน้น เรื่องนี้
ถ้าคำถามไหน ถูกถามมาบ่อย ๆ ควรเอามาตอบไว้ในนี้เลยครับ เพราะถ้าลูกค้าหาคำตอบได้เองทันทีโดยไม่ต้องถามเรา
เรารอเราตอบ เขาก็ซื้อได้ทันทีเลย
หรือว่า เราเก็งคำถามไว้ แล้วก็มาตอบล่วงหน้าไว้ก็ได้
Custom Help Page - ทาง Amazon ก็ให้โอกาส เราสร้างหน้าส่วนตัวนอกเหนือจากที่มีอยู่ขึ้นมาได้เอง อยากใส่อะไร อธิบายอะไรเพิ่ม ก็สร้างได้ที่หน้านี้ครับ สามารถ สร้างได้หลายหน้าด้วย
ผม แนะนำ ให้มาใส่ข้อมูลที่นี่ไว้ด้วย จะมาสร้างทีหลัง หรือก่อนลงสินค้าก็ไม่ว่ากัน แต่ถ้าเรามีข้อมูลให้ลูกค้ามาก ๆ ลูกค้าก็จะไว้ใจ ร้านเรามากกว่า ร้านที่โผล่มาก็ขาย ๆ อย่างเดียว ยิ่งเป็นสินค้าไทย ๆ ก็ควรอธิบายให้มากด้วย เพราะฝรั่งเขาไม่เข้าใจสินค้าไทยบางตัว หรือวิธีการทำ วัสดุ หรือ จิตวิญญาณผู้ผลิต เหล่านี้ครับ เราอยู่กับสินค้ามาตั้งแต่เด็ก เราคุ้นเคยกับมัน จนบางทีเราลืมความสำคัญของมันไปด้วยซ้ำ
ต่อไป ก็จะเข้าเรื่องการ list สินค้าขายกันซะที
เมื่อ เข้าไปที่หัวข้อนี้ เราจะสามารถ ให้ข้อมูลกับลูกค้า ในด้านนโยบายต่าง ๆ ของร้าน เช่น เงื่อนไข ในการรับคืนสินค้า เงื่อนไขในการส่ง หรือ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าเราก็ได้
ไล่ทีละอันเลยนะครับ
About Seller - ถ้าจะเทียบ ก็จะเหมือนกับ About us ตามเวปไซต์ขายของทั่วไป เหมือนเป็นการแนะนำตัว เวลาที่เราจะไปขายของ หรือขายประกันให้ใคร เราก็ควรจะบอกลูกค้า ก่อนไม่ใช่ว่า ดุ่ย ๆ ไปขายของให้เขา น้อยคนนัก ที่จะซื้อเลย เว้นแต่ สินค้า กับราคามันยั่วใจเท่านั้น อย่างน้อย ก็มาบอกเขาก่อน ว่าเราเป็นใคร โม้หน่อยก็ได้ ว่าเราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ หรือ เราเป็นผู้ผลิตโดยตรง ลูกค้าจะได้เชื่อมั่น
การ ใส่ ก็สามารถใส่ได้ 2 แบบ คือ Design View พิมพ์ลงไปแล้วปรับการแสดงผลคล้ายกับ การทำด้วย Microsoft Word และ Code View ที่ต้องใส่เป็นภาษา HTML ทำจาก Dream Weaver แล้วเอาโค้ดมาแปะก็ได้ครับ แต่ต้องใช้ CSS Style แบบ inline เท่านั้นนะครับ
Seller Logo - อันนี้ จะให้โอกาสเรา ใส่รูปโลโก้ร้านได้ แต่ได้ขนาดแค่ 120 x 30 px นี่ต้องใช้แว่นขยายดูกันหน่อยล่ะ
กด Browse.. เพื่อเลือกรูป แล้วก็ Upload ขึ้นไปได้เลย
Shipping - ก่อนหน้านี้ ที่เราทำการปรับค่าต่าง ๆ ใน Shipping Settings นั้น เป็นการบอกระบบของ Amazon ว่าจะให้คิดค่าส่งอย่างไร แต่ลูกค้า ไม่รู้เรื่องพวกนี้ด้วย ทาง Amazon ก็ให้โอกาส เรามาอธิบายไว้ตรงนี้
แต่ Shipping จะแบ่งออกเป็น 2 บล๊อค
อัน บนคือ Shipping Policies Help Content: ให้เราอธิบายว่า เราจะส่งสินค้าเรายังไง ส่งภายในกี่วันหลังจากรับเงิน ส่งผ่านบริษัทอะไร อธิบายไว้ในช่องนี้ครับ
อันล่าง Shipping Rates Help Content: ก็อธิบายว่าเราคิดค่าส่งยังไง ราคาเท่าไหร่
ส่วนการใส่นั้น ก็เหมือน กับ About Seller
Privacy - เราจะเก็บข้อมูลส่วนตัวของลูกค้ายังไง ฝรั่งเขาหวงความเป็นส่วนตัว และข้อมูลส่วนบุคคลกันมาก แต่คนไทยส่วนใหญ่ ยังไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก (สารภาพว่า อันนี้ผมก็ Copy ของคนอื่นมาเหมือนกัน)
Gift Services - บริการเสริม ว่าเราจะห่อเป็นของขวัญ แล้วส่งไปให้คนรับได้หรือเปล่า (เหมือนมิส ลิลลี่ รับส่งดอกไม้ นั่นแหละ) ถ้าได้มีเงื่อนไขยังไง ร้านใครขายสินค้า ที่คนมักจะส่งให้เป็นของขวัญกัน ตามช่วงเทศกาล ควรมีบริการนี้จะช่วยเพิ่มยอดขายได้ในช่วงเทศกาลเลยล่ะครับ แต่ถ้าไม่มี เราก็ควรบอกเขาไว้ด้วยว่า เราไม่มีบริการนี้
Tax - เราคิดภาษีการค้าหรือเปล่า ถ้าไม่คิด ก็บอก แต่ของไทย คงไม่คิดกันมั๊งครับ แต่ผมบอกไว้ตรงนี้
ว่า "สำหรับบางประเทศถ้ามีภาษีนำเข้า ผู้ซื้อเป็นผู้รับผิดชอบเอง" ตามนี้ (ก๊อปเอาไปใช้กันได้เลยครับ)
Tax & Duties
Customers in Custom-strict countries please contact us for detail on our policy. If you have instruction on how your package should be labeled accordance to your country's procedure.
Customer responds for tax or duties if there's any.
Frequently Asked Questions - ขาย ๆ ไป ลูกค้าก็มักจะมีคำถาม มาถามเรา เกี่ยวกับเรื่องโน้น เรื่องนี้
ถ้าคำถามไหน ถูกถามมาบ่อย ๆ ควรเอามาตอบไว้ในนี้เลยครับ เพราะถ้าลูกค้าหาคำตอบได้เองทันทีโดยไม่ต้องถามเรา
เรารอเราตอบ เขาก็ซื้อได้ทันทีเลย
หรือว่า เราเก็งคำถามไว้ แล้วก็มาตอบล่วงหน้าไว้ก็ได้
Custom Help Page - ทาง Amazon ก็ให้โอกาส เราสร้างหน้าส่วนตัวนอกเหนือจากที่มีอยู่ขึ้นมาได้เอง อยากใส่อะไร อธิบายอะไรเพิ่ม ก็สร้างได้ที่หน้านี้ครับ สามารถ สร้างได้หลายหน้าด้วย
ผม แนะนำ ให้มาใส่ข้อมูลที่นี่ไว้ด้วย จะมาสร้างทีหลัง หรือก่อนลงสินค้าก็ไม่ว่ากัน แต่ถ้าเรามีข้อมูลให้ลูกค้ามาก ๆ ลูกค้าก็จะไว้ใจ ร้านเรามากกว่า ร้านที่โผล่มาก็ขาย ๆ อย่างเดียว ยิ่งเป็นสินค้าไทย ๆ ก็ควรอธิบายให้มากด้วย เพราะฝรั่งเขาไม่เข้าใจสินค้าไทยบางตัว หรือวิธีการทำ วัสดุ หรือ จิตวิญญาณผู้ผลิต เหล่านี้ครับ เราอยู่กับสินค้ามาตั้งแต่เด็ก เราคุ้นเคยกับมัน จนบางทีเราลืมความสำคัญของมันไปด้วยซ้ำ
ต่อไป ก็จะเข้าเรื่องการ list สินค้าขายกันซะที
Amazon Seller - Shipping Setting
Shipping Settings การคิดค่าส่ง และ วิธีการส่ง
ผู้ขายแบบ Professional สามารถตั้งสถานที่ส่ง วิธีการส่ง และค่าส่งสินค้าไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง โดยหลัก ๆ แล้ว จะสามารถคิดค่าส่งได้ 3 แบบคือ ผมคิดว่าแต่แบบ มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกัน
1. คิด ค่าส่งจากราคาสินค้าที่ซื้อ - อันนี้ผมว่าเหมาะกับร้านที่มีสินค้า ที่มีระดับราคา กว้าง ก็คือ มีมันตั้งแต่ถูก ๆ ไปยังแพง สินค้าแพงยอมจ่ายค่าส่งที่แพงเพื่อให้ได้บริการที่ปลอดภัยกว่า ตามราคา นี่ก็คือราคาสินค้าทั้งหมดในรถเข็นนะครับ ไม่ว่าจะกี่ชิ้น อะไรบ้าง ก็รวมกันหมด
2. คิดค่าส่งจากจำนวนชิ้นสินค้าที่ซื้อ - ผมว่าเหมาะกับร้านที่สินค้าในร้าน มีราคาและน้ำหนักแต่ละชิ้น ค่อนข้างใกล้เคียงกัน
3. คิดค่าส่งตามน้ำหนักสินค้า - อันนี้ผมว่า เหมาะกันสินค้าหนัก ๆ หรือคิดราคาสินค้าจากน้ำหนักของสินค้าเลย
ทั้ง นี้ เป็นเพียงความเห็นของผมนะครับ แต่ละร้านอาจจะมีกลยุทธ หรือวิธีการคิดค่าส่งไม่เหมือนกันเลยก็ได้ ทั้ง ๆ ที่สินค้าอาจเป็นแบบเดียวกัน
ทีนี้ มาดูวิธีในการตั้งค่าส่ง และวิธีการส่งกันดีกว่า
เมื่อเข้าไปในเมนู Shipping Settings แล้วหน้าแรกจะเป็นแบบนี้
เมนู แรกสุดคือ Ship From Location ก็คือการตั้งสถานที่ส่งออกสินค้า ก็น่าจะเป็น Thailand ทั้งหมด แต่อย่าไปเปลี่ยนเป็น USA ให้ดูน่าเชื่อถือมากกว่าเดิม เพราะมันจะมีผล ต่อระยะเวลาประมาณการในการส่ง ที่ Amazon จะแสดงไว้ให้ลูกค้าดู และวิธีการส่งที่เราเลือกได้ ตั้งตามความเป็นจริงไปดีกว่า แต่ถ้าใครเอาของจากจีน แล้วส่งจากจีนไปเลย ก็กดปุ่ม edit ที่มุมขวาบน เพื่อเปลี่ยนได้เลยครับ
แล้วก็เลือกประเทศจาก Pull down menu เสร็จแล้วก็กด Update
อัน ต่อไป ก็คือ ตารางที่แสดง โซนต่าง ๆ และค่าส่ง ที่เป็นค่าเริ่มต้นที่ Amazon จัดให้ ถ้าใครไม่ได้เข้ามาตั้งในเมนูนี้ ทาง Amazon จะใช้ ราคานี้เป็นมาตรฐาน เป็นราคา ที่เขาส่งกันภายใน USA ไม่บอกก็รู้ว่า ขาดทุนแหง ๆ
ค่าเริ่มต้น ที่ Amazon ตั้งไว้ให้เราก็คือ $4.49 ต่อออร์เดอร์ บวกกับ $0.50 ต่อปอนด์
คือ ถ้าลูกค้าสั่งของเราไม่ว่าจะกี่ชิ้น ให้เอาน้ำหนัก คูณด้วย 0.50 แล้วก็บวกด้วย $4.49
(ปัดเศษน้ำหนัก ยังไงก็ยังไม่รู้นะครับ - ใครลองแล้วก็บอกด้วยล่ะกัน)
เอาคร่าว ๆ แค่นี้ก่อน เดี๋ยวค่อยลง รายละเอียดกันอีกที
ถ้าอยากเปลี่ยน เป็นแบบคิดตามราคาของที่ซื้อ ก็กดปุ่ม Change Shipping Model ที่มุมขวาบนได้เลย
ก็จะมี 2 แบบให้เลือก (อ้าว ไหนว่ามี 3 แบบ)
อันแรก Price Banded ก็คือการตั้งค่าส่งตามราคา
อันที่ 2 Per Item/Weight – Based อันนี้ คิดราคาตามจำนวนชิ้น / น้ำหนัก
ตั้งค่าส่งตามราคาก็เลือกอันบนเลย
หน้าแรก จะเป็นตารางให้เลือก ว่าจะส่งไปที่ไหน ยังไง จะเลือกส่งไปที่ไหน ก็เลือกด้วยการ คลิ๊ก ที่ check box ได้เลย
มีระยะเวลาในการขนส่งคร่าว ๆ ไว้ให้ดูด้วย แต่อย่าลืม ว่าลูกค้า เขาก็เห็นตัวเลขระยะเวลาประมาณนี้ ด้วยเช่นกัน
โซนไหน ยังไง
Continental US Street – ที่อยู่ทั่วไป ที่อยู่ในอเมริกา ไม่รวม ฮาวาย อลาสกา
Continental US PO Box - ที่อยู่ PO Box ที่อยู่ในอเมริกา ไม่รวม ฮาวาย อลาสกา
Alaska and Hawaii Street - ที่อยู่ทั่วไป ฮาวาย อลาสกา
Alaska and Hawaii PO Box - ที่อยู่ตู้ปณ.ฮาวาย อลาสกา
US Protectorates Street - พวกเกาะในอาณานิคมของสหรัฐ พวก ซามัว เกาะกวม เปอร์โตริโก้
US Protectorates PO Box - เหมือนข้างบน
APO/FPO Street - ที่อยู่ของพวกฐานทัพ ในสหรัฐ หรือในอาณานิคมต่าง ๆ
APO/FPO PO Box - นี่ก็เหมือนข้างบน ถ้าใครให้ส่งไปที่อยู่แบบนี้ เดาได้เลยว่าทหารแหง ๆ
Canada - คานาดา
Europe - ยุโรปทั้งแถบ รัสเซียก็นับเป็นยุโรป
Asia - เอเชีย
Outside US Eur, CA Asia - นอกเหนือจากข้างบนทั้งหมด แต่มีไม่กี่ประเทศหรอก ที่ Amazon มันยอมให้สั่ง เช่น เมกซิโก บราซิล อาร์เจนตินา
ของไปรษณีย์ ไทย จะแบ่งออกเป็นการคิดค่าส่งออกเป็น 3 โซน คือเอเชีย กับออสเตรเลีย / ยุโรป / อเมริกาเหนือ+ใต้ ดังนั้น การคิดค่าส่ง ในช่องแรก ที่เป็นแบบ Standard มันไม่ยาก อาจจะใช้ค่าส่งเรทเดียวกับอเมริกาทั้งหมดไปเลยก็ได้ จะได้ไม่ต้องวุ่นวาย เพราะค่าส่งไปอเมริกาด้วยไปรษณีย์ แพงที่สุดในบรรดาโซนทั้งหมดอยู่แล้ว
แต่ที่จะยุ่งหน่อย ก็คือช่อง Expedited ที่เป็นการส่งแบบด่วย หรือ EMS / FedEx / DHL ที่ทั้งระยะเวลา และค่าส่งในแต่ละที่ก็ไม่เท่ากัน หรือบางที่ก็ไม่มีบริการส่งด่วนให้ด้วย เช่น ถ้าเป้น EMS ไปยุโรป จะถูกกว่า ไปเมกา แต่ถ้าเป็น FedEx ไปเมกาจะถูกกว่า แต่ FedEx ไม่ส่งไปถ้าเป็นที่อยู่แบบ PO Box / APO-FPO ถ้าใครจะใช้อันนี้ ก็ตรวจสอบค่าส่ง บริษัทที่จัดส่ง และระยะเวลากันดี ๆ นะครับ เพราะอาจจะทำให้ขาดทุนได้ แต่ถ้าอยากตัดปัญหา ก็ไม่ต้องมีเลยก็ได้
เลือกจนพอใจ แล้วก็กด Continue เพื่อตั้งราคา จะเจอ อลังการงานสร้างอีก 1 หน้า
การ ตั้งค่าส่งตามราคา จะตั้งเป็นช่วงราคา กับค่าส่ง และต้องตั้งทุกอัน ตามที่เราได้เลือกมา ก่อนหน้านี้ (ตั้งมาหลายแบบ ก็ซวยหน่อย เปลี่ยนใจตอนนี้ยังทันนะ) แต่ไม่ต้องกลัว มัน Copy ทุกอันให้เหมือนกันได้ ผมถึงบอกว่า ให้ตั้งเหมือนเมกาไปเลย เพราะมันจะแพงที่สุด ยังไงโซนอื่น ก็ไม่แพงกว่านี้
เริ่มตั้ง ก็กดที่ ที่ช่องแรกไปได้เลย ช่องเดียวก็จะขยาย เป็น หลาย ๆ ช่อง ตามนี้
เราก็สามารถ ใส่ช่วงราคา และค่าส่งแต่ละช่วงได้ตามสะดวก ตามตัวอย่างนี้
ช่วงแรก $0.00 ถึง $50.00 คิดค่าส่ง $1.00 ( ผมใส่ตัวเลข 50 ในช่องแรก และ 1 ในช่องหลัง )
ช่วง ที่สอง $50.01 ถึง $100.00 คิดค่าส่ง $2.00 (ผมใส่ตัวเลข 100 ในช่องแรก และ 2 ในช่องหลัง $50.01 จะปรากฎอัตโนมัต ตอนที่ผม 50 ในช่องแรก)
ช่องสุดท้าย $400.01 ถึง up (คือ ตั้งแต่ $400.01 ขึ้นไป อาจจะถึง 1 ล้าน - ถ้ากล้าสั่งนะ) คิดค่าส่ง $6.00
หากยังไม่พอใจ ช่องมันยังไม่เยอะพอ ก็สามารถ กดเพื่อเพิ่มแถวมาอีกก็ได้
เมื่อครบแล้ว ก็กดปุ่ม ก็จะเข้าสู่หน้า Copy ให้เหมือนกันให้หมดทุกโซน
การ Copy ค่าส่งไปยังโซนอื่น
หลังจากกด Copy Bands to Region ก็จะเข้าสู่หน้านี้
ช่อง Copy What? ให้เลือกข้อ Bands and Rate เพื่อ Copy ทั้งช่วงราคาสินค้า และค่าส่ง แต่ถ้าจะตั้งให้ไม่เท่ากัน ก็เลือกข้อ Band only
ช่อง Copy To ก็เลือกโซน ที่อยากให้ช่วงราคาและค่าส่งเท่ากัน (เลือกทุกช่อง ถ้าอยากให้ค่าส่งทุกโซนเท่ากันหมด)
เสร็จ แล้ว ก็กดปุ่ม Copy and Continue แล้วเราก็จะกลับมาหน้าเมื่อกี้ ที่ช่วงราคาและค่าส่ง จะเหมือนกันหมด ช่องที่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง เพื่อแสดงว่า ค่าเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลง
สุดท้าย ก็กด Confirm เพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลง เป็นอันเสร็จสิ้น การตั้งวิธีการส่ง โซน และก็การคิดค่าส่งตามราคาที่สั่ง
การตั้งค่าส่ง ตามปริมาณ / น้ำหนัา
เลือก Per Item/Weight – Based หลังจากที่กดปุ่ม เพื่อเลือกระบบการคิดค่าส่งตามจำนวนชิ้น หรือน้ำหนัก
หน้าแรก ก็จะเป็นการเลือกโซน และบริการ เหมือนกับการคิดค่าส่งตามช่วงราคา
เมื่อเลือกโซนและบริการเสร็จ ก็กด Continue เพื่อไปหน้าต่อไป ที่จะเป็นการตั้งราคา
การตั้งราคา จะมีให้ใส่ค่า อยู่ 2 ช่อง ช่องบน จะเป็นการให้เลือก ว่าจะคิดราคา ตามน้ำหนัก (per weight)หรือ ตามจำนวนชิ้น (per Item)
ช่องล่าง per Shipment จะเป็นการคิดค่าส่งตายตัวต่อ 1 ออร์เดอร์
แต่ถ้าบริการไหน เราไม่ได้เลือกไว้ ก็จะไม่สามารถตั้งค่าได้ โดยจะแสดงไว้เป็น ---
แถวที่เป็น ETA ย่อมาจาก Estimated Time of Arrival - ระยะเวลาที่ของจะมาถึง(ผู้รับ)โดยประมาณ
เรา สามารถเลือกได้ ว่าจะให้คิดค่าส่งแบบไหน (ตามชิ้น หรือ น้ำหนัก) ได้จาก Pull Down menu โดยน้ำหนัก จะคิดเป็น ปอนด์ (2.2 ปอนด์ เป็น 1 กิโลกรัม)
เวลา ที่ระบบของ Amazon คิดค่าส่ง จะเป็นการรวมค่าส่ง อยู่ 2 ค่า คือ เอาค่าจาก Per Shipment เป็นฐาน แล้วไปรวมกับ per Item / per Weight
เช่น เราใช้ระบบ per Item โดยตั้ง per Item ไว้ที่ $1.00 และ per Shipment ไว้ที่ $4.00 แล้วลูกค้า มาสั่งของจากร้านเรา จำนวน 8 ชิ้น (นับรวมทั้งรายการทั้งหมด ทั้งที่ซ้ำ และไม่ซ้ำกัน)
ค่าส่งจะเป็น $4.00 + ( 8 ชิ้น x $1.00 ) = $12.00
ถ้าคิดตามน้ำหนัก ก็คูณด้วยน้ำหนัก แทนจำนวนชิ้น
การ ตั้งราคา แต่ละโซน จะตั้งให้ไม่เหมือนกันก็ได้ เช่นบางโซน จะใช้แบบ per Item แต่บางโซน ใช้เป็น per Weight แต่ทางที่ดี เพื่อไม่ให้เจ้าของร้านงง ตั้งระบบเดียวกันให้หมดดีกว่า และไม่มีการ copy เราต้องใส่เองทั้งหมด ทุกโซน ทุกบริการ
ใส่ครบแล้ว ก็กด Continue ระบบ ก็จะสรุปให้เราดูอีกครั้ง ว่าที่เราตั้งไปทั้งหมด เป็นยังไง
ถ้าโอเค ก็กด Confirm เพื่อยืนยัน เป็นอันเสร็จสิ้นการตั้งค่าส่ง
ผู้ขายแบบ Professional สามารถตั้งสถานที่ส่ง วิธีการส่ง และค่าส่งสินค้าไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง โดยหลัก ๆ แล้ว จะสามารถคิดค่าส่งได้ 3 แบบคือ ผมคิดว่าแต่แบบ มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกัน
1. คิด ค่าส่งจากราคาสินค้าที่ซื้อ - อันนี้ผมว่าเหมาะกับร้านที่มีสินค้า ที่มีระดับราคา กว้าง ก็คือ มีมันตั้งแต่ถูก ๆ ไปยังแพง สินค้าแพงยอมจ่ายค่าส่งที่แพงเพื่อให้ได้บริการที่ปลอดภัยกว่า ตามราคา นี่ก็คือราคาสินค้าทั้งหมดในรถเข็นนะครับ ไม่ว่าจะกี่ชิ้น อะไรบ้าง ก็รวมกันหมด
2. คิดค่าส่งจากจำนวนชิ้นสินค้าที่ซื้อ - ผมว่าเหมาะกับร้านที่สินค้าในร้าน มีราคาและน้ำหนักแต่ละชิ้น ค่อนข้างใกล้เคียงกัน
3. คิดค่าส่งตามน้ำหนักสินค้า - อันนี้ผมว่า เหมาะกันสินค้าหนัก ๆ หรือคิดราคาสินค้าจากน้ำหนักของสินค้าเลย
ทั้ง นี้ เป็นเพียงความเห็นของผมนะครับ แต่ละร้านอาจจะมีกลยุทธ หรือวิธีการคิดค่าส่งไม่เหมือนกันเลยก็ได้ ทั้ง ๆ ที่สินค้าอาจเป็นแบบเดียวกัน
ทีนี้ มาดูวิธีในการตั้งค่าส่ง และวิธีการส่งกันดีกว่า
เมื่อเข้าไปในเมนู Shipping Settings แล้วหน้าแรกจะเป็นแบบนี้
เมนู แรกสุดคือ Ship From Location ก็คือการตั้งสถานที่ส่งออกสินค้า ก็น่าจะเป็น Thailand ทั้งหมด แต่อย่าไปเปลี่ยนเป็น USA ให้ดูน่าเชื่อถือมากกว่าเดิม เพราะมันจะมีผล ต่อระยะเวลาประมาณการในการส่ง ที่ Amazon จะแสดงไว้ให้ลูกค้าดู และวิธีการส่งที่เราเลือกได้ ตั้งตามความเป็นจริงไปดีกว่า แต่ถ้าใครเอาของจากจีน แล้วส่งจากจีนไปเลย ก็กดปุ่ม edit ที่มุมขวาบน เพื่อเปลี่ยนได้เลยครับ
แล้วก็เลือกประเทศจาก Pull down menu เสร็จแล้วก็กด Update
อัน ต่อไป ก็คือ ตารางที่แสดง โซนต่าง ๆ และค่าส่ง ที่เป็นค่าเริ่มต้นที่ Amazon จัดให้ ถ้าใครไม่ได้เข้ามาตั้งในเมนูนี้ ทาง Amazon จะใช้ ราคานี้เป็นมาตรฐาน เป็นราคา ที่เขาส่งกันภายใน USA ไม่บอกก็รู้ว่า ขาดทุนแหง ๆ
ค่าเริ่มต้น ที่ Amazon ตั้งไว้ให้เราก็คือ $4.49 ต่อออร์เดอร์ บวกกับ $0.50 ต่อปอนด์
คือ ถ้าลูกค้าสั่งของเราไม่ว่าจะกี่ชิ้น ให้เอาน้ำหนัก คูณด้วย 0.50 แล้วก็บวกด้วย $4.49
(ปัดเศษน้ำหนัก ยังไงก็ยังไม่รู้นะครับ - ใครลองแล้วก็บอกด้วยล่ะกัน)
เอาคร่าว ๆ แค่นี้ก่อน เดี๋ยวค่อยลง รายละเอียดกันอีกที
ถ้าอยากเปลี่ยน เป็นแบบคิดตามราคาของที่ซื้อ ก็กดปุ่ม Change Shipping Model ที่มุมขวาบนได้เลย
ก็จะมี 2 แบบให้เลือก (อ้าว ไหนว่ามี 3 แบบ)
อันแรก Price Banded ก็คือการตั้งค่าส่งตามราคา
อันที่ 2 Per Item/Weight – Based อันนี้ คิดราคาตามจำนวนชิ้น / น้ำหนัก
ตั้งค่าส่งตามราคาก็เลือกอันบนเลย
หน้าแรก จะเป็นตารางให้เลือก ว่าจะส่งไปที่ไหน ยังไง จะเลือกส่งไปที่ไหน ก็เลือกด้วยการ คลิ๊ก ที่ check box ได้เลย
มีระยะเวลาในการขนส่งคร่าว ๆ ไว้ให้ดูด้วย แต่อย่าลืม ว่าลูกค้า เขาก็เห็นตัวเลขระยะเวลาประมาณนี้ ด้วยเช่นกัน
โซนไหน ยังไง
Continental US Street – ที่อยู่ทั่วไป ที่อยู่ในอเมริกา ไม่รวม ฮาวาย อลาสกา
Continental US PO Box - ที่อยู่ PO Box ที่อยู่ในอเมริกา ไม่รวม ฮาวาย อลาสกา
Alaska and Hawaii Street - ที่อยู่ทั่วไป ฮาวาย อลาสกา
Alaska and Hawaii PO Box - ที่อยู่ตู้ปณ.ฮาวาย อลาสกา
US Protectorates Street - พวกเกาะในอาณานิคมของสหรัฐ พวก ซามัว เกาะกวม เปอร์โตริโก้
US Protectorates PO Box - เหมือนข้างบน
APO/FPO Street - ที่อยู่ของพวกฐานทัพ ในสหรัฐ หรือในอาณานิคมต่าง ๆ
APO/FPO PO Box - นี่ก็เหมือนข้างบน ถ้าใครให้ส่งไปที่อยู่แบบนี้ เดาได้เลยว่าทหารแหง ๆ
Canada - คานาดา
Europe - ยุโรปทั้งแถบ รัสเซียก็นับเป็นยุโรป
Asia - เอเชีย
Outside US Eur, CA Asia - นอกเหนือจากข้างบนทั้งหมด แต่มีไม่กี่ประเทศหรอก ที่ Amazon มันยอมให้สั่ง เช่น เมกซิโก บราซิล อาร์เจนตินา
ของไปรษณีย์ ไทย จะแบ่งออกเป็นการคิดค่าส่งออกเป็น 3 โซน คือเอเชีย กับออสเตรเลีย / ยุโรป / อเมริกาเหนือ+ใต้ ดังนั้น การคิดค่าส่ง ในช่องแรก ที่เป็นแบบ Standard มันไม่ยาก อาจจะใช้ค่าส่งเรทเดียวกับอเมริกาทั้งหมดไปเลยก็ได้ จะได้ไม่ต้องวุ่นวาย เพราะค่าส่งไปอเมริกาด้วยไปรษณีย์ แพงที่สุดในบรรดาโซนทั้งหมดอยู่แล้ว
แต่ที่จะยุ่งหน่อย ก็คือช่อง Expedited ที่เป็นการส่งแบบด่วย หรือ EMS / FedEx / DHL ที่ทั้งระยะเวลา และค่าส่งในแต่ละที่ก็ไม่เท่ากัน หรือบางที่ก็ไม่มีบริการส่งด่วนให้ด้วย เช่น ถ้าเป้น EMS ไปยุโรป จะถูกกว่า ไปเมกา แต่ถ้าเป็น FedEx ไปเมกาจะถูกกว่า แต่ FedEx ไม่ส่งไปถ้าเป็นที่อยู่แบบ PO Box / APO-FPO ถ้าใครจะใช้อันนี้ ก็ตรวจสอบค่าส่ง บริษัทที่จัดส่ง และระยะเวลากันดี ๆ นะครับ เพราะอาจจะทำให้ขาดทุนได้ แต่ถ้าอยากตัดปัญหา ก็ไม่ต้องมีเลยก็ได้
เลือกจนพอใจ แล้วก็กด Continue เพื่อตั้งราคา จะเจอ อลังการงานสร้างอีก 1 หน้า
การ ตั้งค่าส่งตามราคา จะตั้งเป็นช่วงราคา กับค่าส่ง และต้องตั้งทุกอัน ตามที่เราได้เลือกมา ก่อนหน้านี้ (ตั้งมาหลายแบบ ก็ซวยหน่อย เปลี่ยนใจตอนนี้ยังทันนะ) แต่ไม่ต้องกลัว มัน Copy ทุกอันให้เหมือนกันได้ ผมถึงบอกว่า ให้ตั้งเหมือนเมกาไปเลย เพราะมันจะแพงที่สุด ยังไงโซนอื่น ก็ไม่แพงกว่านี้
เริ่มตั้ง ก็กดที่ ที่ช่องแรกไปได้เลย ช่องเดียวก็จะขยาย เป็น หลาย ๆ ช่อง ตามนี้
เราก็สามารถ ใส่ช่วงราคา และค่าส่งแต่ละช่วงได้ตามสะดวก ตามตัวอย่างนี้
ช่วงแรก $0.00 ถึง $50.00 คิดค่าส่ง $1.00 ( ผมใส่ตัวเลข 50 ในช่องแรก และ 1 ในช่องหลัง )
ช่วง ที่สอง $50.01 ถึง $100.00 คิดค่าส่ง $2.00 (ผมใส่ตัวเลข 100 ในช่องแรก และ 2 ในช่องหลัง $50.01 จะปรากฎอัตโนมัต ตอนที่ผม 50 ในช่องแรก)
ช่องสุดท้าย $400.01 ถึง up (คือ ตั้งแต่ $400.01 ขึ้นไป อาจจะถึง 1 ล้าน - ถ้ากล้าสั่งนะ) คิดค่าส่ง $6.00
หากยังไม่พอใจ ช่องมันยังไม่เยอะพอ ก็สามารถ กดเพื่อเพิ่มแถวมาอีกก็ได้
เมื่อครบแล้ว ก็กดปุ่ม ก็จะเข้าสู่หน้า Copy ให้เหมือนกันให้หมดทุกโซน
การ Copy ค่าส่งไปยังโซนอื่น
หลังจากกด Copy Bands to Region ก็จะเข้าสู่หน้านี้
ช่อง Copy What? ให้เลือกข้อ Bands and Rate เพื่อ Copy ทั้งช่วงราคาสินค้า และค่าส่ง แต่ถ้าจะตั้งให้ไม่เท่ากัน ก็เลือกข้อ Band only
ช่อง Copy To ก็เลือกโซน ที่อยากให้ช่วงราคาและค่าส่งเท่ากัน (เลือกทุกช่อง ถ้าอยากให้ค่าส่งทุกโซนเท่ากันหมด)
เสร็จ แล้ว ก็กดปุ่ม Copy and Continue แล้วเราก็จะกลับมาหน้าเมื่อกี้ ที่ช่วงราคาและค่าส่ง จะเหมือนกันหมด ช่องที่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง เพื่อแสดงว่า ค่าเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลง
สุดท้าย ก็กด Confirm เพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลง เป็นอันเสร็จสิ้น การตั้งวิธีการส่ง โซน และก็การคิดค่าส่งตามราคาที่สั่ง
การตั้งค่าส่ง ตามปริมาณ / น้ำหนัา
เลือก Per Item/Weight – Based หลังจากที่กดปุ่ม เพื่อเลือกระบบการคิดค่าส่งตามจำนวนชิ้น หรือน้ำหนัก
หน้าแรก ก็จะเป็นการเลือกโซน และบริการ เหมือนกับการคิดค่าส่งตามช่วงราคา
เมื่อเลือกโซนและบริการเสร็จ ก็กด Continue เพื่อไปหน้าต่อไป ที่จะเป็นการตั้งราคา
การตั้งราคา จะมีให้ใส่ค่า อยู่ 2 ช่อง ช่องบน จะเป็นการให้เลือก ว่าจะคิดราคา ตามน้ำหนัก (per weight)หรือ ตามจำนวนชิ้น (per Item)
ช่องล่าง per Shipment จะเป็นการคิดค่าส่งตายตัวต่อ 1 ออร์เดอร์
แต่ถ้าบริการไหน เราไม่ได้เลือกไว้ ก็จะไม่สามารถตั้งค่าได้ โดยจะแสดงไว้เป็น ---
แถวที่เป็น ETA ย่อมาจาก Estimated Time of Arrival - ระยะเวลาที่ของจะมาถึง(ผู้รับ)โดยประมาณ
เรา สามารถเลือกได้ ว่าจะให้คิดค่าส่งแบบไหน (ตามชิ้น หรือ น้ำหนัก) ได้จาก Pull Down menu โดยน้ำหนัก จะคิดเป็น ปอนด์ (2.2 ปอนด์ เป็น 1 กิโลกรัม)
เวลา ที่ระบบของ Amazon คิดค่าส่ง จะเป็นการรวมค่าส่ง อยู่ 2 ค่า คือ เอาค่าจาก Per Shipment เป็นฐาน แล้วไปรวมกับ per Item / per Weight
เช่น เราใช้ระบบ per Item โดยตั้ง per Item ไว้ที่ $1.00 และ per Shipment ไว้ที่ $4.00 แล้วลูกค้า มาสั่งของจากร้านเรา จำนวน 8 ชิ้น (นับรวมทั้งรายการทั้งหมด ทั้งที่ซ้ำ และไม่ซ้ำกัน)
ค่าส่งจะเป็น $4.00 + ( 8 ชิ้น x $1.00 ) = $12.00
ถ้าคิดตามน้ำหนัก ก็คูณด้วยน้ำหนัก แทนจำนวนชิ้น
การ ตั้งราคา แต่ละโซน จะตั้งให้ไม่เหมือนกันก็ได้ เช่นบางโซน จะใช้แบบ per Item แต่บางโซน ใช้เป็น per Weight แต่ทางที่ดี เพื่อไม่ให้เจ้าของร้านงง ตั้งระบบเดียวกันให้หมดดีกว่า และไม่มีการ copy เราต้องใส่เองทั้งหมด ทุกโซน ทุกบริการ
ใส่ครบแล้ว ก็กด Continue ระบบ ก็จะสรุปให้เราดูอีกครั้ง ว่าที่เราตั้งไปทั้งหมด เป็นยังไง
ถ้าโอเค ก็กด Confirm เพื่อยืนยัน เป็นอันเสร็จสิ้นการตั้งค่าส่ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)